Probation News :

 นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุมประพฤติ - ประกาศเมื่อ..10 มกราคม 2566 ...:1852
 ความรู้เกี่ยวกับธงชาติไทย - ประกาศเมื่อ..07 พฤศจิกายน 2565 ...:2148
  1. แผนภูมิแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ
  2. ประชาสัมพันธ์

การตรวจพิสูจน์

ความหมายของการตรวจพิสูจน์

          การตรวจพิสูจน์ คือ การแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ ทั้งเรื่องประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด และพฤติกรรมการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในระหว่างการตรวจพิสูจน์ หากผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ไม่ได้รับการประกันตัว ก็จะถูกควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ กรณีที่เป็นเยาวชนจะถูกส่งตัวไปควบคุมยังสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ของเยาวชนซึ่งอยู่ในการดูแลของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ส่วนสถานที่ควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ของผู้ใหญ่ จะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมราชทัณฑ์ ทั้งนี้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ศูนย์บำบัดยาเสพติดในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  เป็นสถานที่ควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ โดยมีความเห็นร่วมกันว่าใช้ควบคุมตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์  ในกรณีใช้สารระเหย/ติดสารระเหย 

         ในระหว่างการควบคุมตัวระหว่างการตรวจพิสูจน์ ผู้ปกครองหรือญาติของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ สามารถยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว  ต่ออนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประจำพื้นที่ เพื่อให้พิจารณาว่าสมควรปล่อยตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์เป็นการชั่วคราว โดยคณะอนุฯจะพิจารณาจากประวัติภูมิหลัง ประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในการขอปล่อยชั่วคราวอาจต้องใช้หลักทรัพย์เป็นประกันตามฐานความผิดและประเภทยาเสพติดในวงเงิน ๕,๐๐๐ - ๔๐,๐๐๐ บาท หรือแล้วแต่ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการฯ และถึงแม้จะได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว แต่ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ยังต้องไปพบพนักงานคุมประพฤติเจ้าของสำนวน ตามที่พนักงานคุมประพฤติเจ้าของสำนวนนัดหมาย เพื่อให้ถ้อยคำและตรวจหาสารเสพติดในปัสสาวะ หากในระหว่างการตรวจพิสูจน์พบว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์มีคดีอาญาอื่น ๆพนักงานคุมประพฤติจะต้องแจ้งพนักงานสอบสวนให้ไปรับตัวผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ไปดำเนินคดีอาญาตามปกติ ขั้นตอนในการตรวจพิสูจน์จะใช้เวลาระหว่าง ๑๕-๔๕ วัน ตามกฎหมาย

           เมื่อตรวจพิสูจน์เสร็จสิ้น พนักงานเจ้าหน้าที่จะทำรายงานผลการตรวจพิสูจน์เสนอให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประจำพื้นที่ พิจารณาพบว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ คณะอนุกรรมการจะมีคำวินิจฉัยให้ส่งตัวคืนพนักงานสอบสวนเพื่อกลับไปดำเนินคดีอาญาตามขั้นตอนปกติ แต่ถ้าเป็นผู้เสพยาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดประจำพื้นที่จะวินิจฉัยว่าผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์รายนั้นควรเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในโปรแกรมการฟื้นฟูฯที่เหมาะสมต่อไป

 สถานที่เพื่อการควบคุมตัวและสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์

  1. สถานที่เพื่อการควบคุมตัวและสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์สำหรับผู้ต้องหาที่มีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ คือ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  2. สถานที่เพื่อการควบคุมตัวและสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์สำหรับผู้ต้องหาตามมาตรา 19  แห่งพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 คือ เรือนจำชั่วคราวห้วยกลั้ง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

 การประกันตัว

ผู้มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว

         ผู้มีสิทธิร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว  ได้แก่  ผู้ที่เข้ารับการตรวจพิสูจน์ หรือผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด บิดา  มารดา บุตร พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน สามี ภริยา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา นายจ้าง  ผู้ปกครองตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ หรือบุคคลที่บิดามารดายินยอมให้เป็นผู้ปกครองดำเนินการแทน หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอื่น


หลักการประกันที่ใช้ในการขอปล่อยชั่วคราว

หลักประกันมี ๓  ชนิด  ดังนี้

๑. เงินสด

๒. หลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น ที่ดินตามโฉนด น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก พันธบัตรของรัฐบาล หรือพันธบัตรของรัฐวิสาหกิจ หรือสลากออมสิน เงินตามสมุดเงินฝากประจำหรือใบรับฝากเงินประจำของธนาคาร หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หนังสือรับรองของส่วนราชการตามระเบียบกระทรวงการคลัง

๓. มีบุคคลมาเป็นหลักประกัน

ขั้นตอนการขอให้ปล่อยชั่วคราว

ขั้นแรก   ให้ผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกัน จัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้ประกอบการยื่นขอให้ปล่อยชั่วคราว  ดังนี้

๑.  บัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับจริงของผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์และนายประกัน (พร้อมสำเนา ๑ ชุด)

๒.  ถ้าผู้ขอประกันหรือผู้เป็นหลักประกันมีคู่สมรสตามกฎหมาย ต้องมีคำยินยอมของคู่สมรส หากเป็นหม้ายให้นำหลักฐานการหย่า หรือใบมรณะบัตรของคู่สมรส หรือทะเบียนบ้านที่มีการแจ้งตาย หน้าชื่อของผู้นั้นมาแสดง

๓.  กรณีหลักทรัพย์เป็นที่ดินตามโฉนด น.ส. ๓ หรือ น.ส. ๓ ก ต้องมีหนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินจากพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมแผนที่ตั้งหลักทรัพย์โดยละเอียด หากผู้ประกันมิได้เป็นเจ้าของหลักทรัพย์ต้องมีหนังสือมอบอำนาจตามกฎหมายพร้อมทั้งต้องนำเอกสารใน (๑) ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจมาแสดงด้วย

๔.  กรณีใช้เงินตามสมุดเงินฝากประจำ  หรือใบรับเงินฝากประจำของธนาคารมาเป็นหลักประกัน ต้องมีหนังสือรับรองยอดเงินคงเหลือปัจจุบันของธนาคารและรับรองว่าจะไม่ยอมให้ถอนเงินภายใน ๔๕ วัน  นับแต่วันออกหนังสือ

๕.  กรณีบุคคลเป็นหลักประกัน ให้บุคคลนั้นเสนอหนังสือรับรองจากต้นสังกัดแสดงฐานะ ระดับ อัตราเงินเดือน หรือหนังรับรองสถานะของตนเอง แล้วแต่กรณี และหากมีภาระผูกพันในการทำสัญญาประกัน หรือใช้ตนเองเป็นหลักประกันรายอื่นอยู่ ก็ให้แสดงภาระผูกพันนั้นด้วย


ขั้นที่สอง   ผู้ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวเขียนคำร้อง ขอให้ปล่อยชั่วคราวพร้อมแนบเอกสารที่จัดเตรียมยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานคุมประพฤติที่รับผิดชอบคดี

ขั้นที่สาม พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งกำหนดวันเวลาฟังผลการพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ขั้นที่สี่ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในเขตพื้นที่ประชุมพิจารณาการปล่อยตัว และพนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวทราบพร้อมทั้งออกใบรับหลักทรัพย์

ผู้บริหาร

 นายพิพัฒน์ ว่องธีรกิจโกศล
ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต

 

    มี 303 ผู้มาเยือน และ ออนไลน์

  ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 20
  ผู้เยี่ยมชมเมื่อวานนี้ 55
  ผู้เยี่ยมชมสัปดาห์นี้ 276
  ผู้เยี่ยมชมเดือนนี้ 480
  ยอดผู้เยี่ยมชม 32735