Probation News :

 นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุมประพฤติ - ประกาศเมื่อ..10 มกราคม 2566 ...:1861
 ความรู้เกี่ยวกับธงชาติไทย - ประกาศเมื่อ..07 พฤศจิกายน 2565 ...:2158
  1. แผนภูมิแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ
  2. ประชาสัมพันธ์

งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕

ก่อนที่พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ จะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้เสพยาเสพติดและที่ผู้ติดยาเสพติด ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติจะได้รับการพิพากษาจากศาลยุติธรรมซึ่งมีบทลงโทษ จำคุก หรือ รอลงอาญา หรือปรับ ทำให้มีประวัติการกระทำความผิดทางอาญา ต่อมารัฐบาลมีนโยบายว่า ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล รักษา บำบัดฟื้นฟูฯอย่างถูกต้องเหมาะสมแทนการลงโทษทางอาญา จึงตราพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕  ออกใช้โดยมีข้อดีคือ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจะได้รับการดูแล บำบัดฟื้นฟูฯในฐานะผู้ป่วยในระหว่างการบำบัดฟื้นฟูฯโดยพนักงานอัยการจะชะลอฟ้องคดีไว้ก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความผิดได้รับโอกาสเข้าบำบัดฟื้นฟูก่อน  และเมื่อผ่านการบำบัดฟื้นฟูฯแล้ว ผลการบำบัดฟื้นฟูฯ เป็นที่พอใจจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีในทางอาญาและพ้นสภาพผู้กระทำผิด ไม่มีคดีอาญาติดตัว สามารถไปศึกษาต่อหรือทำงานได้เช่นคนปกติทั่วไป

เมื่อผู้เสพยาเสพติดถูกจับกุมดำเนินคดี ใน ๔ ฐานความผิด ดังนี้

๑.  เสพยาเสพติด

๒.  เสพและมีไว้ในครอบครอง

๓.  เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

๔.  เสพและจำหน่าย

โดยที่ปริมาณยาเสพติดที่มีอยู่ในความครอบครอง ไม่เกินปริมาณตามที่กฎกระทรวงกำหนด หรือไม่เกิน ๕ หน่วยการใช้ เช่นกรณียาบ้า ต้องไม่เกิน ๕ เม็ด

เมื่อเป็นผู้ต้องหาตาม ๔ ฐานความผิดข้างต้น  พนักงานสอบสวนจะส่งต่อไปยังศาล หากเป็นบุคคล อายุเกิน ๑๘ ปี ต้องส่งตัวภายใน ๔๘ ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเยาวชน อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ต้องส่งตัวภายใน ๒๔ ชั่วโมง เมื่อศาลจะพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดในฐานความผิดทั้ง ๔ และเป็นผู้ต้องหาอยู่ในระหว่างจับกุมหรือพิจารณาดำเนินคดีอื่นหรือไม่ หากศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่การกระทำผิดใน ๔ ฐานความผิดข้างต้น หรือมีคดีอาญาอื่น ๆ ศาลจะดำเนินการตามกระบวนการทางอาญาตามปกติเดิม แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความผิดอยู่ในฐานความผิดทั้ง ๔ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ และไม่มีคดีอาญาอื่น ๆ ศาลจะสั่งให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ พนักงานคุมประพฤติตรวจพิสูจน์ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์”

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด

วิธีในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

  1. การฟื้นฟูฯ แบบไม่ควบคุมตัว

       1.1 การฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยนอก 

          ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้เสพยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่รุนแรง แนวทางในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ส่งตัวไปเข้าโปรแกรม กาย จิต สังคม บำบัด(matrix) ในสถานพยาบาลของรัฐบาล ในระยะเวลา  ๔ เดือน

       1.2 การฟื้นฟูฯแบบผู้ป่วยใน

         ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้เสพยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่รุนแรง แต่มีความผิดปกติทางกาย/จิตแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ส่งตัวไปเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลของรัฐบาลในระยะเวลา ๔ เดือน

       1.3 การฟื้นฟูฯในโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ

          ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้ใช้สารเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่นาน โดยพนักงานคุมประพฤติจะเป็นผู้บำบัดฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ กลุ่มนี้ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐาน และพิจารณาใช้โปรแกรมเฉพาะด้าน ที่เหมาะกับบริบทของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ รายนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการนำแนวคิดทางพุทธศาสนามาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เช่น โปรแกรมวิถีพุทธ ค่ายจริยธรรม เป็นต้น นอกจากที่ยังมีโครงการระยะสั้น ได้แก่ ค่ายก้าวใหม่ ค่ายยาเสพติด หรือโครงการศิลปะบูรณาการ การฟื้นฟูฯ ในโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติใช้เวลา 6 เดือน

  1. การฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัว

       2.1 การควบคุมตัวเข้มงวด

        ใช้ฟื้นฟูฯผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้ติดยาเสพติดขั้นรุนแรง และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดรุนแรง มีแนวโน้มที่จะหลบหนี ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนให้ครอบครัวและชุมชน  โปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ชุมชนบำบัด และโปรแกรมจิราสา ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ เป็นเวลา ๔-๖ เดือน สถานที่ฟื้นฟูฯอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานพหุภาคีฯ  ได้แก่ กรมคุมประพฤติ กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกรมราชทัณฑ์

 

      

       2.2 การควบคุมตัวไม่เข้มงวด

          ใช้ฟื้นฟูฯผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้ติดยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดค่อนข้างรุนแรง  โปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ FAST MODELระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ ๔ เดือน หน่วยงานฟื้นฟูฯ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดนนทบุรี

          เมื่อครบระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ หน่วยงานในการฟื้นฟูฯ จะประเมินผลการฟื้นฟูฯ และรายงานให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ พื้นที่ทราบ กรณีที่ผลการฟื้นฟูฯไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฯ สามารถขยายระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ หรือปรับแผนการฟื้นฟูฯ ให้เข้มมากขึ้นแต่ถ้าผลการฟื้นฟูฯเป็นที่พอใจ หน่วยบำบัดฟื้นฟูฯ จะส่งตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูไปให้พนักงานคุมประพฤติฟื้นฟูฯ ต่ออีก ๒ เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมการปฏิบัติตนในการกลับสู่สังคม

           เมื่อเข้ารับฟื้นฟูฯ ตามโปรแกรมในโปรแกรมกลับสู่สังคมการฟื้นฟูฯ ต่างๆที่เหมาะสมจนครบตามระยะเวลาแล้ว และผลการฟื้นฟูฯ เป็นที่พอใจ ถือว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯผ่านการฟื้นฟูฯ พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการฟื้นฟูให้พนักงานสอบสวนและอัยการทราบ เพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดีในกรณีดังกล่าว กรมคุมประพฤติจะประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลบประวัติการกระทำผิดออกจากทะเบียนประวัติอาชญากร แต่ถ้าผลการฟื้นฟูฯไม่เป็นที่พอใจหรือประเมินไม่ผ่านการฟื้นฟูฯ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯประจำเขตพื้นที่สามารถขยายระยะเวลาออกไปครั้งละไม่เกิน ๖ เดือน ภายใน ๓ ปี หรือปรับแผนการฟื้นฟูฯ หรือยกเลิกการฟื้นฟูฯส่งตัวคืนให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกระบวนการพิจารณาปกติต่อไป

ข้อมูลสถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ข้อมูล ณ ปัจจุบัน จำนวน 86 แห่ง

กองทัพบก (35 แห่ง)

  1. ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี
  2. กรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย   จังหวัดนครราชสีมา
  3. กองพันรบพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (หญิง)

4 .กรมทหารพรานที่ 2๑ ค่ายฝึกการรบพิเศษน้ำพุง จังหวัดสกลนคร

  1. กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดเชียงใหม่
  2. กองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) จังหวัดกาญจนบุรี
  3. ศูนย์การทหารราบ (ค่ายธนะรัชต์)  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  4. จังหวัดทหารบกน่าน (ค่ายสุริยพงษ์) จังหวัดน่าน
  5.  กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ (ค่ายจักรพงษ์)  จังหวัดปราจีนบุรี
  6. กรมทหารราบที่ ๑๒ รักษาพระองค์ ค่ายไพรีระย่อเดช จังหวัดสระแก้ว
  7. กองพลทหารราบที่ ๑๑ ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
  8. จังหวัดทหารบก (ค่ายวชิรปราการ) จังหวัดตาก
  9. กองพลทหารราบที่ 5 (ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร)  จังหวัดนครศรีธรรมราช
  10. กรมทหารราบที่ 16  ค่ายบดินเดชา จังหวัดยโสธร
  11. กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี
  12. กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี (ม.พัน23)
  13. กองพันทหารสื่อสารที่ 1 รักษาพระองค์  เขตยานนาวา กรุงเทพฯ
  14. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
  15. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
  16. กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี
  17. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี
  18. กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์  ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
  19. กองพันทหารม้าที่ 30 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
  20. จังหวัดทหารบกสระแก้ว ค่ายสุรสิงหนาท  จังหวัดสระแก้ว
  21.  กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่12 รักษาพระองค์ ค่ายสุรสิงหนาท จังหวัดสระแก้ว
  22. กองพลพัฒนาที่ 1  ค่ายสุริยวงศ์ จังหวัดราชบุรี
  23. กองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ ค่ายบุรฉัตร จังหวัดราชบุรี
  24. กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
  25. กรมทหารสื่อสารที่ 1 ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน จังหวัดสมุทรสาคร
  26. กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ (กองร้อยกองบัญชาการ กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ )จังหวัดสระบุรี
  27. กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายจักรพงษ์ )จังหวัดปราจีนบุรี

32  กองพลพัฒนาที่  4 (ค่ายรัตนพล ) จังหวัดสงขลา

  1. กองพันทหารม้าที่ 12 ค่ายพระยาไชยบูรณ์ จังหวัดแพร่
  2. กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 6  เขตหลักสี่  กรุงเทพฯ
  3.  กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 จังหวัดลพบุรี

 

กองทัพเรือ (4 แห่ง)

  1. โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 1 จ.ชลบุรี
  2. โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 2 จ.ชลบุรี
  3. โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 3 จ.ชลบุรี
  4.  เรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

 

กองทัพอากาศ (13 แห่ง)

  1. กองบินที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา
  2. กองบินที่ 2 จังหวัดลพบุรี
  3. กองบินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์
  4. กองบินที่ 21 จังหวัดอุบลราชธานี
  5. กองบินที่ 23 จังหวัดอุดรธานี
  6. กองบินที่ 41 จังหวัดเชียงใหม่
  7. กองบินที่ 46 จังหวัดพิษณุโลก
  8. กองบินที่ 5 (เดิม 53)จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  9. กองบินที่ 56 จังหวัดสงขลา
  10. โรงเรียนการบิน จังหวัดนครปฐม
  11. อาคาร 5017 กองทัพอากาศ เขตดอนเมืองกรุงเทพฯ
  12. กองทัพอากาศทุ่งสีกัน กทม. (ศูนย์ฟื้นฟูฯทุ่งสีกัน)
  13. กองบิน 7 จังหวัดสุราษฏร์ธานี

 

กรมการปกครอง (7 แห่ง)

  1. กองร้อยอาสาฯจังหวัดบุรีรัมย์
  2. กองร้อยอาสาฯจังหวัดพะเยาที่ 2
  3. กองร้อยอาสาฯจังหวัดพิษณุโลกที่ 2 

๔. กองร้อยอาสาฯจังหวัดกาฬสินธุ์

๕. กองร้อยอาสาฯจังหวัดสุราษฏร์ธานี

๖. กองร้อยอาสาฯจังหวัดสตูลที่ 1

๗. กองร้อยอาสาฯจังหวัดหนองคาย

 

กรมการแพทย์ (7 แห่ง)

  1.  สถาบันธัญญารักษ์  จังหวัดปทุมธานี
  2.  ศูนย์บำบัดยาเสพติดเชียงใหม่ฯ จังหวัดเชียงใหม่  
  3.  ศูนย์บำบัดยาเสพติดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  4.  ศูนย์บำบัดยาเสพติดขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น
  5. ศูนย์บำบัดยาเสพติดสงขลา  จังหวัดสงขลา
  6. ศูนย์บำบัดยาเสพติดปัตตานี  จังหวัดปัตตานี
  7. ศูนย์บำบัดยาเสพติดอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี

 

กองบัญชาการกองทัพไทย (3 แห่ง)

  1. หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 จังหวัดอำนาจเจริญ
  2. หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 จังหวัดศรีสะเกษ
  3. หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 55 จังหวัดชัยภูมิ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ๑ แห่ง)

  1.  หน่วยปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธร จังหวัดเชียงราย

 

กรมสุขภาพจิต (13 แห่ง)

  1.   สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน
  2.  โรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี
  3.   สถาบันกัลยาราชนครินทร์ เขตทวีวัฒนา
  4.   โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
  5.   โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
  6.   โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครรินทร์  
  7.   โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครรินทร์
  8.   โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครรินทร์
  9.   โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครรินทร์
  10. โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครรินทร์
  11. โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครรินทร์
  12. โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี
  13. โรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา

 

ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด

  1.  ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ จังหวัดนนทบุรี

 

สังกัดกรมคุมประพฤติ

  1.  ศูนย์ฟื้นฟูฯลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

 

สังกัดกรมราชทัณฑ์

  1.  ศูนย์ชุมชนบำบัดคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา

 หมายเหตุ*มีทั้งหมด 90 แห่งแต่ปัจจุบันมีการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูฯจำนวน 86 แห่ง

 

การติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ

          ภายหลังจากผ่านการฟื้นฟูฯแล้วพนักงานคุมประพฤติจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ ต่อเนื่องไปอีก ๑ ปี เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำในด้านต่างๆ ให้ไม่หวนไปเสพซ้ำอีกในกรณีที่ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพนักงานคุมประพฤติจะเป็นผู้ติดตามดูแล ช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ หากพบว่าในระหว่างการติดตาม ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯกลับไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดอีก พนักงานคุมประพฤติจะช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อให้ไปกลับไปเสพซ้ำหรือจัดให้ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯได้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจต่อไป

           การฟื้นฟูฯ ผู้เสพยาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติด จะสำเร็จหรือไม่เพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการในการฟื้นฟูฯเท่านั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯเองว่ามีความมุ่งมั่นตั้งใจในการที่จะเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้กำลังใจจากคนในครอบครัวและชุมชนในการช่วยเหลือดูแลผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ตลอดจนให้โอกาสแก่ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ลูกหลานของท่านให้สามารถเลิกเกี่ยวข้องกับสารเสพติดอย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งกรมคุมประพฤติยังมีโครงการ “พ่อแม่อาสานำพาลูกหลายห่างไกลยาเสพติด” เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวเข้ามาเป็นอาสาสมัครรับผิดชอบดูแลลูกหลานและคนในครอบครัว/ชุมชนของตนให้ปลอดภัยและห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย อนาคตลูกหลานอยู่ในมือของท่านจึงขอเชิญมาร่วมช่วยกันนำพาลูกหลานห่างไกลยาเสพติดอย่างยั่งยืนร่วมกับกรมคุมประพฤติ

 

 

ผู้บริหาร

 นายพิพัฒน์ ว่องธีรกิจโกศล
ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต

 

    มี 192 ผู้มาเยือน และ ออนไลน์

  ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 34
  ผู้เยี่ยมชมเมื่อวานนี้ 47
  ผู้เยี่ยมชมสัปดาห์นี้ 34
  ผู้เยี่ยมชมเดือนนี้ 541
  ยอดผู้เยี่ยมชม 32796