งานอาสาสมัครคุมประพฤติ

ที่มาของงานอาสาสมัครคุมประพฤติ

        กรมคุมประพฤติมีภารกิจในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคม และได้เริ่มดำเนินโครงการอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จากแนวคิดเกี่ยวกับสังคมควรมีระบบและกลไกในการป้องกันตนเองจากปัญหาอาชญากรรมและการกระทำผิดซ้ำนอกเหนือไปจากระบบงานยุติธรรมทางอาญา ซึ่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่ได้ผลดี คือ การให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันตนเองจากอาชญากรรม และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดในชุมชน ต่อมามีพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ตลอดจนการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดพ.ศ.๒๕๔๕ ทำให้ภารกิจของกรมคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรมมีมากขึ้น เพื่อเป็นการสนองตอบนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงยุติธรรมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนและทำให้การดำเนินงานอาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสามารถรองรับภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้เกิดประสิทธิภาพ จึงมีระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยอาสาสมัครคุมประพฤติ พ.ศ. ๒๕๔๗ อาสาสมัครคุมประพฤติมีหน้าที่ในการช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้คำแนะนำตักเตือนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดออกสอดส่องเยี่ยมผู้ถูกคุมความประพฤติติดตามผลผู้ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕

          ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ.๒๕๕๙ กำหนดให้อาสาสมัครคุมประพฤติมีบทบาทตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยบทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติและบทบาทของภาคประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๐ และมีคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนอาสาสมัครคุมประพฤติ ตามระเบียบคณะกรรมการคุมประพฤติว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนอาสาสมัครคุมประพฤติ พ.ศ. ๒๕๖๑  

อาสาสมัครคุมประพฤติมีความสำคัญอย่างไร

            ผู้กระทำผิดต้องการกำลังใจ การยอมรับและให้โอกาสของคนในชุมชน รวมทั้งมีอาชีพมีรายได้เพื่อดำเนินชีวิต อาสาสมัครคุมประพฤติถือเป็นบุคคลในชุมชนที่ใกล้ชิดผู้กระทำความผิดมากที่สุด ในการออกไปเยี่ยมเยียน ให้คำปรึกษา ให้กำลังใจ ให้คำแนะนำในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัว

       ดังนั้น อาสาสมัครคุมประพฤติ จึงเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่หวนกลับไปกระทำผิดอีก

 

บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติ

ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยบทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติและ

บทบาทของภาคประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๐ ลักษณะ ๑ บทบาทและวิธีการปฏิบัติงานของอาสาสมัครคุมประพฤติ

หมวด ๑ บทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติ ข้อ ๖

อาสาสมัครคุมประพฤติมีบทบาทในการช่วยเหลือพนักงานคุมประพฤติ ดังนี้

(๑) แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด

(๒) ติดตาม ดูแลช่วยเหลือ สงเคราะห์ ผู้กระทำผิดหรือผู้ได้รับการสงเคราะห์

(๓) แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด

(๔) ส่งเสริมสนับสนุนภารกิจของกรมคุมประพฤติ

(๕) มีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม

(๖) บทบาทหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีกรมคุมประพฤติมอบหมาย

ทั้งนี้ ในการปฏิบัติหน้าที่ ตาม (๑) – (๖) ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพนักงานคุมประพฤติ

คุณสมบัติของอาสาสมัครคุมประพฤติ 

ตามระเบียบคณะกรรมการคุมประพฤติว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนอาสาสมัครคุมประพฤติ พ.ศ. ๒๕๖๑

หมวด ๑ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งอาสาสมัครคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติต้องมี

คุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) มีอายุตั้งแต่ยี่สิบเอ็ดปีบริบูรณ์ขึ้นไป

(๒) สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือเป็นผู้มีความรู้

หรือประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสองปี ในด้านการแก้ไขฟื้นฟู ด้านการสงเคราะห์ ด้านการพัฒนา

สังคมหรือชุมชน  ด้านการพัฒนาพฤตินิสัย หรือด้านกระบวนการยุติธรรม หรือเป็นที่ยอมรับ

จากประชาชน ชุมชน หรือสังคม

(๓) ประกอบอาชีพโดยสุจริตหรือดำรงชีพโดยสุจริต

(๔) มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอน

(๕) มีความประพฤติดี ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรมและมีความเสียสละเป็นอย่างสูงพร้อม

ที่จะอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานคุมประพฤติด้วยความเต็มใจ

(๖) สุขภาพร่างกายหรือจิตใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน

(๗) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ คนไร้ความสามารถหรือ

เสมือนไร้ความสามารถ 

การสิ้นสุดสถานภาพของอาสาสมัครคุมประพฤติ ตามระเบียบคณะกรรมการคุมประพฤติว่าด้วยการแต่งตั้งและถอดถอนอาสาสมัครคุมประพฤติ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๓ การสิ้นสุดสถานภาพและการถอดถอนอาสาสมัครคุมประพฤติ 

ข้อ ๑๐  อาสาสมัครคุมประพฤติมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละหกปี และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ ให้มีการประเมินอาสาสมัครคุมประพฤติทุกสองปี ตามแบบที่กรมคุมประพฤติกำหนด โดยผู้ผ่านการประเมินจะต้องเป็นผู้มีความประพฤติดี ประสงค์ที่จะปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครคุมประพฤติและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 

ข้อ ๑๑ อาสาสมัครคุมประพฤติสิ้นสุดสถานภาพลง ในกรณีดังต่อไปนี้

                   (๑) ครบกำหนดวาระ

                   (๒) ตาย

                   (๓) ลาออก

                   (๔) ถูกถอดถอน

ผู้บริหาร

 นายพิพัฒน์ ว่องธีรกิจโกศล
ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต

 

    มี 1123 ผู้มาเยือน และ ออนไลน์

  ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 57
  ผู้เยี่ยมชมเมื่อวานนี้ 32
  ผู้เยี่ยมชมสัปดาห์นี้ 89
  ผู้เยี่ยมชมเดือนนี้ 646
  ยอดผู้เยี่ยมชม 39502