
งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕
ก่อนที่พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ จะมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๖ ผู้เสพยาเสพติดและที่ผู้ติดยาเสพติด ที่ถูกจับกุมดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติจะได้รับการพิพากษาจากศาลยุติธรรมซึ่งมีบทลงโทษ จำคุก หรือ รอลงอาญา หรือปรับ ทำให้มีประวัติการกระทำความผิดทางอาญา ต่อมารัฐบาลมีนโยบายว่า ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล รักษา บำบัดฟื้นฟูฯอย่างถูกต้องเหมาะสมแทนการลงโทษทางอาญา จึงตราพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ ออกใช้โดยมีข้อดีคือ ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจะได้รับการดูแล บำบัดฟื้นฟูฯในฐานะผู้ป่วยในระหว่างการบำบัดฟื้นฟูฯโดยพนักงานอัยการจะชะลอฟ้องคดีไว้ก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความผิดได้รับโอกาสเข้าบำบัดฟื้นฟูก่อน และเมื่อผ่านการบำบัดฟื้นฟูฯแล้ว ผลการบำบัดฟื้นฟูฯ เป็นที่พอใจจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ก็จะไม่ถูกดำเนินคดีในทางอาญาและพ้นสภาพผู้กระทำผิด ไม่มีคดีอาญาติดตัว สามารถไปศึกษาต่อหรือทำงานได้เช่นคนปกติทั่วไป
เมื่อผู้เสพยาเสพติดถูกจับกุมดำเนินคดี ใน ๔ ฐานความผิด ดังนี้
๑. เสพยาเสพติด
๒. เสพและมีไว้ในครอบครอง
๓. เสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
๔. เสพและจำหน่าย
โดยที่ปริมาณยาเสพติดที่มีอยู่ในความครอบครอง ไม่เกินปริมาณตามที่กฎกระทรวงกำหนด หรือไม่เกิน ๕ หน่วยการใช้ เช่นกรณียาบ้า ต้องไม่เกิน ๕ เม็ด
เมื่อเป็นผู้ต้องหาตาม ๔ ฐานความผิดข้างต้น พนักงานสอบสวนจะส่งต่อไปยังศาล หากเป็นบุคคล อายุเกิน ๑๘ ปี ต้องส่งตัวภายใน ๔๘ ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นเยาวชน อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ต้องส่งตัวภายใน ๒๔ ชั่วโมง เมื่อศาลจะพิจารณาว่าเป็นการกระทำผิดในฐานความผิดทั้ง ๔ และเป็นผู้ต้องหาอยู่ในระหว่างจับกุมหรือพิจารณาดำเนินคดีอื่นหรือไม่ หากศาลพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่การกระทำผิดใน ๔ ฐานความผิดข้างต้น หรือมีคดีอาญาอื่น ๆ ศาลจะดำเนินการตามกระบวนการทางอาญาตามปกติเดิม แต่ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นความผิดอยู่ในฐานความผิดทั้ง ๔ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ และไม่มีคดีอาญาอื่น ๆ ศาลจะสั่งให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ พนักงานคุมประพฤติตรวจพิสูจน์ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะถูกเรียกว่า “ผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์”
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด
วิธีในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
- การฟื้นฟูฯ แบบไม่ควบคุมตัว
1.1 การฟื้นฟูฯ แบบผู้ป่วยนอก
ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้เสพยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่รุนแรง แนวทางในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ส่งตัวไปเข้าโปรแกรม กาย จิต สังคม บำบัด(matrix) ในสถานพยาบาลของรัฐบาล ในระยะเวลา ๔ เดือน
1.2 การฟื้นฟูฯแบบผู้ป่วยใน
ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้เสพยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่รุนแรง แต่มีความผิดปกติทางกาย/จิตแนวทางในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ส่งตัวไปเข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลของรัฐบาลในระยะเวลา ๔ เดือน
1.3 การฟื้นฟูฯในโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติ
ใช้ฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ที่เป็นผู้ใช้สารเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่นาน โดยพนักงานคุมประพฤติจะเป็นผู้บำบัดฟื้นฟูฯ ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ กลุ่มนี้ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐาน และพิจารณาใช้โปรแกรมเฉพาะด้าน ที่เหมาะกับบริบทของผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ รายนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการนำแนวคิดทางพุทธศาสนามาใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เช่น โปรแกรมวิถีพุทธ ค่ายจริยธรรม เป็นต้น นอกจากที่ยังมีโครงการระยะสั้น ได้แก่ ค่ายก้าวใหม่ ค่ายยาเสพติด หรือโครงการศิลปะบูรณาการ การฟื้นฟูฯ ในโปรแกรมสำนักงานคุมประพฤติใช้เวลา 6 เดือน
- การฟื้นฟูฯ แบบควบคุมตัว
2.1 การควบคุมตัวเข้มงวด
ใช้ฟื้นฟูฯผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้ติดยาเสพติดขั้นรุนแรง และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดรุนแรง มีแนวโน้มที่จะหลบหนี ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนให้ครอบครัวและชุมชน โปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ ชุมชนบำบัด และโปรแกรมจิราสา ใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ เป็นเวลา ๔-๖ เดือน สถานที่ฟื้นฟูฯอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานพหุภาคีฯ ได้แก่ กรมคุมประพฤติ กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกรมราชทัณฑ์
2.2 การควบคุมตัวไม่เข้มงวด
ใช้ฟื้นฟูฯผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯที่เป็นผู้ติดยาเสพติด และมีประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดค่อนข้างรุนแรง โปรแกรมที่ใช้ในการบำบัดฟื้นฟูฯ คือ FAST MODELระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ ๔ เดือน หน่วยงานฟื้นฟูฯ คือ กองทัพบก กองทัพเรือ กรมการปกครอง กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต และศูนย์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดนนทบุรี
เมื่อครบระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ หน่วยงานในการฟื้นฟูฯ จะประเมินผลการฟื้นฟูฯ และรายงานให้คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ พื้นที่ทราบ กรณีที่ผลการฟื้นฟูฯไม่เป็นที่พอใจ คณะอนุกรรมการฯ สามารถขยายระยะเวลาในการฟื้นฟูฯ หรือปรับแผนการฟื้นฟูฯ ให้เข้มมากขึ้นแต่ถ้าผลการฟื้นฟูฯเป็นที่พอใจ หน่วยบำบัดฟื้นฟูฯ จะส่งตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูไปให้พนักงานคุมประพฤติฟื้นฟูฯ ต่ออีก ๒ เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมการปฏิบัติตนในการกลับสู่สังคม
เมื่อเข้ารับฟื้นฟูฯ ตามโปรแกรมในโปรแกรมกลับสู่สังคมการฟื้นฟูฯ ต่างๆที่เหมาะสมจนครบตามระยะเวลาแล้ว และผลการฟื้นฟูฯ เป็นที่พอใจ ถือว่าผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯผ่านการฟื้นฟูฯ พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการฟื้นฟูให้พนักงานสอบสวนและอัยการทราบ เพื่อไม่ต้องถูกดำเนินคดีในกรณีดังกล่าว กรมคุมประพฤติจะประสานงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลบประวัติการกระทำผิดออกจากทะเบียนประวัติอาชญากร แต่ถ้าผลการฟื้นฟูฯไม่เป็นที่พอใจหรือประเมินไม่ผ่านการฟื้นฟูฯ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯประจำเขตพื้นที่สามารถขยายระยะเวลาออกไปครั้งละไม่เกิน ๖ เดือน ภายใน ๓ ปี หรือปรับแผนการฟื้นฟูฯ หรือยกเลิกการฟื้นฟูฯส่งตัวคืนให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกระบวนการพิจารณาปกติต่อไป
ข้อมูลสถานที่ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ข้อมูล ณ ปัจจุบัน จำนวน 86 แห่ง
กองทัพบก (35 แห่ง)
- ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร จังหวัดสระบุรี
- กรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
- กองพันรบพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (หญิง)
4 .กรมทหารพรานที่ 2๑ ค่ายฝึกการรบพิเศษน้ำพุง จังหวัดสกลนคร
- กองพันสัตว์ต่าง กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดเชียงใหม่
- กองพลทหารราบที่ 9 (ค่ายสุรสีห์) จังหวัดกาญจนบุรี
- ศูนย์การทหารราบ (ค่ายธนะรัชต์) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- จังหวัดทหารบกน่าน (ค่ายสุริยพงษ์) จังหวัดน่าน
- กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์ (ค่ายจักรพงษ์) จังหวัดปราจีนบุรี
- กรมทหารราบที่ ๑๒ รักษาพระองค์ ค่ายไพรีระย่อเดช จังหวัดสระแก้ว
- กองพลทหารราบที่ ๑๑ ค่ายสมเด็จพระนั่งเกล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- จังหวัดทหารบก (ค่ายวชิรปราการ) จังหวัดตาก
- กองพลทหารราบที่ 5 (ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร) จังหวัดนครศรีธรรมราช
- กรมทหารราบที่ 16 ค่ายบดินเดชา จังหวัดยโสธร
- กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี
- กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ จังหวัดสระบุรี (ม.พัน23)
- กองพันทหารสื่อสารที่ 1 รักษาพระองค์ เขตยานนาวา กรุงเทพฯ
- กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 5 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
- กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ
- กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี
- กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ จังหวัดปราจีนบุรี
- กองพันทหารม้าที่ 2 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
- กองพันทหารม้าที่ 30 กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
- จังหวัดทหารบกสระแก้ว ค่ายสุรสิงหนาท จังหวัดสระแก้ว
- กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่12 รักษาพระองค์ ค่ายสุรสิงหนาท จังหวัดสระแก้ว
- กองพลพัฒนาที่ 1 ค่ายสุริยวงศ์ จังหวัดราชบุรี
- กองพันทหารช่างเครื่องมือพิเศษ ค่ายบุรฉัตร จังหวัดราชบุรี
- กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 1 ค่ายฝึกการรบพิเศษแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
- กรมทหารสื่อสารที่ 1 ค่ายกำแพงเพชรอัครโยธิน จังหวัดสมุทรสาคร
- กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ (กองร้อยกองบัญชาการ กรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์ )จังหวัดสระบุรี
- กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายจักรพงษ์ )จังหวัดปราจีนบุรี
32 กองพลพัฒนาที่ 4 (ค่ายรัตนพล ) จังหวัดสงขลา
- กองพันทหารม้าที่ 12 ค่ายพระยาไชยบูรณ์ จังหวัดแพร่
- กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 6 เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
- กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 3 จังหวัดลพบุรี
กองทัพเรือ (4 แห่ง)
- โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 1 จ.ชลบุรี
- โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 2 จ.ชลบุรี
- โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง กองทัพเรือ 3 จ.ชลบุรี
- เรือนจำฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
กองทัพอากาศ (13 แห่ง)
- กองบินที่ 1 จังหวัดนครราชสีมา
- กองบินที่ 2 จังหวัดลพบุรี
- กองบินที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์
- กองบินที่ 21 จังหวัดอุบลราชธานี
- กองบินที่ 23 จังหวัดอุดรธานี
- กองบินที่ 41 จังหวัดเชียงใหม่
- กองบินที่ 46 จังหวัดพิษณุโลก
- กองบินที่ 5 (เดิม 53)จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- กองบินที่ 56 จังหวัดสงขลา
- โรงเรียนการบิน จังหวัดนครปฐม
- อาคาร 5017 กองทัพอากาศ เขตดอนเมืองกรุงเทพฯ
- กองทัพอากาศทุ่งสีกัน กทม. (ศูนย์ฟื้นฟูฯทุ่งสีกัน)
- กองบิน 7 จังหวัดสุราษฏร์ธานี
กรมการปกครอง (7 แห่ง)
- กองร้อยอาสาฯจังหวัดบุรีรัมย์
- กองร้อยอาสาฯจังหวัดพะเยาที่ 2
- กองร้อยอาสาฯจังหวัดพิษณุโลกที่ 2
๔. กองร้อยอาสาฯจังหวัดกาฬสินธุ์
๕. กองร้อยอาสาฯจังหวัดสุราษฏร์ธานี
๖. กองร้อยอาสาฯจังหวัดสตูลที่ 1
๗. กองร้อยอาสาฯจังหวัดหนองคาย
กรมการแพทย์ (7 แห่ง)
- สถาบันธัญญารักษ์ จังหวัดปทุมธานี
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดเชียงใหม่ฯ จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดสงขลา จังหวัดสงขลา
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดปัตตานี จังหวัดปัตตานี
- ศูนย์บำบัดยาเสพติดอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
กองบัญชาการกองทัพไทย (3 แห่ง)
- หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 51 จังหวัดอำนาจเจริญ
- หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 จังหวัดศรีสะเกษ
- หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 55 จังหวัดชัยภูมิ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ( ๑ แห่ง)
- หน่วยปฏิบัติการพิเศษตำรวจภูธร จังหวัดเชียงราย
กรมสุขภาพจิต (13 แห่ง)
- สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน
- โรงพยาบาลศรีธัญญา จังหวัดนนทบุรี
- สถาบันกัลยาราชนครินทร์ เขตทวีวัฒนา
- โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
- โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี
- โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครรินทร์
- โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี
- โรงพยาบาลจิตเวชสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด
- ศูนย์พัฒนาชีวิตใหม่ จังหวัดนนทบุรี
สังกัดกรมคุมประพฤติ
- ศูนย์ฟื้นฟูฯลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
สังกัดกรมราชทัณฑ์
- ศูนย์ชุมชนบำบัดคลองไผ่ จังหวัดนครราชสีมา
หมายเหตุ*มีทั้งหมด 90 แห่งแต่ปัจจุบันมีการดำเนินงานบำบัดฟื้นฟูฯจำนวน 86 แห่ง
การติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ
ภายหลังจากผ่านการฟื้นฟูฯแล้วพนักงานคุมประพฤติจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ติดตามดูแล ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ ต่อเนื่องไปอีก ๑ ปี เพื่อช่วยเหลือให้คำแนะนำในด้านต่างๆ ให้ไม่หวนไปเสพซ้ำอีกในกรณีที่ไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพนักงานคุมประพฤติจะเป็นผู้ติดตามดูแล ช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ หากพบว่าในระหว่างการติดตาม ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯกลับไปเกี่ยวข้องกับสารเสพติดอีก พนักงานคุมประพฤติจะช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะนำเพื่อให้ไปกลับไปเสพซ้ำหรือจัดให้ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯได้เข้ารับการฟื้นฟูฯในระบบสมัครใจต่อไป
การฟื้นฟูฯ ผู้เสพยาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติด จะสำเร็จหรือไม่เพียงใด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระบวนการในการฟื้นฟูฯเท่านั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯเองว่ามีความมุ่งมั่นตั้งใจในการที่จะเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้กำลังใจจากคนในครอบครัวและชุมชนในการช่วยเหลือดูแลผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ตลอดจนให้โอกาสแก่ผู้ผ่านการฟื้นฟูฯ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ลูกหลานของท่านให้สามารถเลิกเกี่ยวข้องกับสารเสพติดอย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งกรมคุมประพฤติยังมีโครงการ “พ่อแม่อาสานำพาลูกหลายห่างไกลยาเสพติด” เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวเข้ามาเป็นอาสาสมัครรับผิดชอบดูแลลูกหลานและคนในครอบครัว/ชุมชนของตนให้ปลอดภัยและห่างไกลยาเสพติดอีกด้วย อนาคตลูกหลานอยู่ในมือของท่านจึงขอเชิญมาร่วมช่วยกันนำพาลูกหลานห่างไกลยาเสพติดอย่างยั่งยืนร่วมกับกรมคุมประพฤติ