Probation News :

 นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน กรมคุมประพฤติ - ประกาศเมื่อ..10 มกราคม 2566 ...:3263
  1. แผนภูมิแสดงขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการ
  2. ประชาสัมพันธ์

 

 

นายภาคภูมิ พลรัตน์
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ
หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์

 


     
 นางสาวพรนภา อุมาสะ
พนักงานคุมประพฤติ
       นางสาวพัชรีภรณ์  อินทรศวร
พนักงานคุมประพฤติ
         
       
         

 

 

 


นายพิพัฒน์  ว่องธีรกิจโกศล
ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต

 

กลุ่มยุทธศาตร์และอำนวยการ กลุ่มคุมประพฤติพื้นที่
นายนุกูล สุขหิ้น
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ

หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ
นางภีณาธิป  เทพบุตร
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มคุมประพฤติพื้นที่

 

 ฝ่ายยุทธศาสตร์  ฝ่ายบริหารงานทั่วไป    กลุ่มคุมประพฤติพื้นที่ 1  กลุ่มคุมประพฤติพื้นที่ 2
 

 นายภาคภูมิ พลรัตน์
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ
หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์

 นางสาวจุไรรัตน์ นิยมเดชา
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป

   นางสาวเกษราภรณ์ ไกรศรพรสรร
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ
หัวหน้ากลุ่มคุมประพฤติพื้นที่ 1
 นางปัทมาภรณ์ นิรภัย
พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ
หัวหน้ากลุ่มคุมประพฤติพื้นที่ 2

 

 

การสงเคราะห์ในงานคุมประพฤติ

ความเป็นมา

         นับตั้งแต่งานคุมประพฤติได้เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นมา ปรากฏว่าปัญหาเบื้องต้นในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องความยากจน การขาดอุปกรณ์พื้นฐานในการดำรงชีวิตหรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อเวลาเจ็บป่วย เป็นต้น ซึ่งในระยะแรกยังไม่ได้รับการสนับสนุนการบริการต่างๆ จากภาครัฐหรือเอกชน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕ กระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีจิตศรัทธาจัดตั้งมูลนิธิแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในด้านการช่วยเหลือและแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ถึง ปัจจุบัน รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดในงานคุมประพฤติจึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่มีฐานะยากจนและขัดสน          

         ดังนั้น งานสงเคราะห์ผู้กระทำผิดจึงได้มีบทบาทและเป็นภารกิจที่สำคัญส่วนหนึ่งของกรมคุมประพฤติ โดยถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดี ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ให้กรมคุมประพฤติเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังพ้นจากการคุมประพฤติหรือผู้กระทำผิดหลังปล่อยจากกรมราชทัณฑ์(Aftercare)จึงทำให้กระบวนการสงเคราะห์ผู้กระทำผิดของกรมคุมประพฤติครอบคลุมไปถึงผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนและผู้ใหญ่ที่ได้รับการปล่อยตัวหรือพ้นจากเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดและรวมถึงผู้ที่อยู่ในกระบวนการตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕ ด้วย

วัตถุประสงค์

               ๑. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ต้องหาและผู้กระทำผิดในการแก้ไขฟื้นฟูหรือการปรับตัวเข้าสู่สังคม

               ๒. เพื่อช่วยให้ผู้ต้องหาและผู้กระทำผิดสามารถช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามสมควร

               ๓. เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาและผู้กระทำผิดหวนกลับไปกระทำผิดอีก

 

หลักการและคุณสมบัติของผู้ขอรับการสงเคราะห์

       ๑.  เป็นผู้ต้องหาและผู้กระทำผิดที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ

       ๒.  มีฐานะยากจนหรือมีความขัดสนและเหมาะสมที่จะได้รับการสงเคราะห์

       ๓.  มีความประสงค์ที่จะได้รับการช่วยเหลือสงเคราะห์

      ๔.  ต้องยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์ตามแบบที่กรมคุมประพฤติกำหนด

      ๕.  แสดงหลักฐานประจำตัว หรือบัตรกำหนดนัดรายงานตัว หรือใบบริสุทธิ์ หรือหลักฐานการปล่อยตัวจากสถานพินิจฯ ทุกครั้งที่ไปติดต่อ

การสงเคราะห์ระหว่างคุมประพฤติ ตรวจพิสูจน์ และฟื้นฟูฯ

  1. การสงเคราะห์ระหว่างคุมประพฤติ ระหว่างตรวจพิสูจน์และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

       เป็นการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขหรือการปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล หรือของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด หรือของคณะกรรมการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก

ประเภทการให้การสงเคราะห์

                ๑. การให้การศึกษา

                ๒. การส่งเสริมด้านการหางาน

                ๓. การฝึกอาชีพ

                ๔. การสงเคราะห์ค่าอาหาร

                ๕. การสงเคราะห์ค่าพาหนะ

                ๖. การสงเคราะห์ค่ายังชีพ

               ๗. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล

                          ก. ทางกายและทางจิต

                          ข. อาการติดยาเสพติดให้โทษ

              ๘. การสงเคราะห์เงินทุนประกอบอาชีพ

              ๙. การประกันตัวจำเลยในระหว่างการสืบเสาะและพินิจ

             ๑๐. การสงเคราะห์ด้านที่อยู่อาศัย (บ้านกึ่งวิถี)

             ๑๑. การให้ความช่วยเหลือตามความจำเป็นอื่นๆ ตามที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการได้

ประเภทของผู้ขอรับการสงเคราะห์

      ๑. จำเลยที่ศาลมีคำสั่งให้สืบเสาะและพินิจ

      ๒. ผู้ถูกคุมความประพฤติทั้งที่เป็นเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก

      ๓. ผู้อยู่ระหว่างการตรวจพิสูจน์และการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๔๕

      ๔. ผู้อยู่ระหว่างทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

 

ขั้นตอนการขอรับการสงเคราะห์ 

     ๑. ยื่นคำร้องขอรับการสงเคราะห์ตามแบบฟอร์มที่กรมคุมประพฤติกำหนด 

     ๒. พนักงานคุมประพฤติพิจารณาคำร้องและตรวจสอบข้อเท็จจริง

     ๓. เจ้าหน้าที่ธุรการตรวจสอบรายละเอียดการขออนุมัติและงบประมาณ

     ๔. ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติพิจารณา

     ๕. กรณีอนุมัติ เจ้าหน้าที่ธุรการเบิกจ่ายเงินสงเคราะห์

         กรณีไม่อนุมัติพนักงานคุมประพฤติจะชี้แจงเหตุผลให้ทราบ

งานบริการสังคม

ที่มาของงานบริการสังคม

        การทำงานบริการสังคม หรือสาธารณประโยชน์ในความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เริ่มต้นมาจากแนวคิดเพื่อใช้เป็นมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ โดยศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติต้องทำงานหรือกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน หรือองค์กรสาธารณกุศล โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนหรือค่าจ้าง โดยบัญญัติไว้ในกฎหมายเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ใช้การทำงานบริการสังคมเป็นมาตรการลงโทษทางเลือก สำหรับผู้ต้องโทษปรับที่ยังไม่มีเงินชำระค่าปรับ และในปีเดียวกันนี้เองได้ใช้การทำงานบริการสังคมเป็นวิธีการร่วมกับการดำเนินการอื่นที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดำรงชีวิตห่างไกลจากยาเสพติด อีกทั้งยังมีแนวโน้มให้การทำงานบริการสังคมเป็นมาตรการแทนการลงโทษจำคุกในอนาคต

 วัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคม

         1. เพื่อกระตุ้นให้ผู้กระทำผิดตระหนักถึงความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อผู้อื่น และสังคมมากยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจว่ายังมีคุณค่าและสังคมยอมรับว่าผู้กระทำผิดมีความสำนึกตัวและยังทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น

           2. ผู้กระทำผิดได้พัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะ ความมีวินัย ตลอดจนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

           3. เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้ชดเชยความเสียหายที่ก่อขึ้นด้วยการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม

           4. เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนวิธีการลงโทษจำคุกหรือโทษปรับ โดยการจำกัดเสรีภาพ จำกัดเวลาพักผ่อนส่วนตัว และให้ทำงานที่

เป็นประโยชน์แก่สังคม

รูปแบบ  การทำงานบริการสังคม มี 2 รูปแบบ คือ

        1.  การทำงานบริการสังคมแบบรายบุคคล หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดแต่ละคนไปทำงานบริการสังคมตามหน่วยงานภาคีตามความรู้  ความสามารถ  หรือการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน หรือชุมชน

        2.  การทำงานบริการสังคมแบบกลุ่ม หมายถึง การจัดให้ผู้กระทำผิดทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งจะช่วยฝึกทักษะด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้ดีขึ้น หรือเป็นการทำงานตามความต้องการของชุมชนที่ลักษณะงานต้องใช้คนจำนวนมาก หรือเพื่อส่งเสริมการยอมรับและความสัมพันธ์อันดี

กิจกรรม  การทำงานบริการสังคม มีหลากหลายประเภท อาทิ การพัฒนาหรือทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ เช่น วัด โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว การปลูก และดูแลสวนป่าหรือสวนสาธารณะการช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวก หรือให้ความบันเทิงแก่คนพิการ เด็กกำพร้า คนชรา ในสถานสงเคราะห์ หรือผู้ป่วยในสถานพยาบาล การสอนกีฬา ฝึกสอนวิชาชีพอื่นๆ เช่น สอนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ และกิจกรมอื่นๆ เช่น การทำงานในห้องสมุด การทาสีเครื่องหมายจราจร การบริจาคโลหิต งานอาสาสมัครช่วยผู้ประสบภัย หรือร่วมรณรงค์ป้องกันอาชญากรม เป็นต้น

 การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

        การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับคืออะไร คือ ทางเลือกของผู้กระทำผิดที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับ แต่ไม่มีเงินเสียค่าปรับต้องทำงานบริการสังคมทดแทนให้แก่สังคม ชุมชน หรือองค์กรสาธารณกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร

โดยถืออัตราหักค่าปรับวันละ 500 บาท

ผู้ใดที่มีสิทธิ์ขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

        ผู้ต้องโทษปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา30/1 ซึ่งไม่ใช่นิติบุคคลและและไม่มีเงินชำระค่าปรับ

ศาลจะมีคำสั่งทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับอย่างไร  มี 2 กรณี คือ

1. เมื่อศาลสอบถามและแจ้งสิทธิแก่ผู้ต้องโทษปรับที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและผู้ต้องโทษปรับ

ต้องการทำงานบริการสังคมแทนก็สามารถยื่นคำร้องตามแบบ บ.ส.โดยศาลจะจัดให้มีการช่วยเหลือหรือ

อำนวยความสะดวกในการจัดทำคำร้องและประวัติตามแบบ บ.ส.เพื่อยื่นคำร้อง ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้

ทำงานบริการสังคมได้เลย โดยไม่ต้องถูกนำตัวไปกักขัง

 2. ผู้ต้องโทษปรับที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับ แต่ไม่มีเงินชำระค่าปรับและมีความประสงค์จะทำงานบริการสังคมแทนในภายหลังสามารถยื่นคำร้อง (ซึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องขอรับแบบฟอร์มได้จากฝ่ายประชาสัมพันธ์ศาล) โดยแจ้งความต้องการขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับลงในแบบคำร้อง (แบบ บ.ส.1) และกรอกประวัติส่วนตัวลงในแบบประวัติจำเลย (บ.ส.2) แล้วยื่นต่อศาล

การอนุญาตหรือไม่อนุญาต ศาลจะพิจารณาจากอะไร

      ศาลจะพิจารณาจากฐานะการเงิน ประวัติส่วนตัว ครอบครัว สภาพแวดล้อม ประวัติการกระทำความผิด และสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ รวมถึงประโยชน์ส่วนรวมที่เกิดจากการทำงานบริการสังคม

ใครเป็นผู้ดูแลการทำงานบริการสังคม

      ศาลจะสั่งให้พนักงานคุมประพฤติเจ้าหน้าที่ของรัฐหน่วยงานของรัฐ องค์กรสาธารณกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้ดูแลการทำงาน

การกำหนดประเภทของงานและระยะเวลาทำงาน พิจารณาจากอะไร

ศาลจะพิจารณาจากเพศ อายุ ประวัติ การนับถือศาสนา ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาสุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ หรือสภาพความผิดของผู้ต้องโทษปรับ ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมและไม่เป็นการสร้างภาระกับผู้ต้องโทษปรับมากเกินไป ซึ่งรายละเอียดได้กำหนดไว้ในระเบียบราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมว่าด้วยการกำหนดจำนวนชั่วโมง ที่ถือเป็นการทำงานหนึ่งวันและแนวปฏิบัติในการให้ทำงานบริการสังคมฯ พ.ศ. 2546

บทบาทของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม

        กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการดำเนินการให้ผู้ต้องโทษปรับ ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ ตามคำสั่งศาลโดยมีพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ดูแล และดำเนินการจัดให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

ลักษณะหรือประเภทของงานในการทำงานบริการสังคม

     - การทำงานช่วยเหลือดูแลอำนวยความสะดวกหรือให้ความบันเทิงแก่คนพิการ คนชรา เด็กกำพร้า หรือผู้ป่วยในสถานสงเคราะห์หรือสถานพยาบาล 

           - การทำงานวิชาการหรืองานบริการด้านการศึกษา เช่น การสอนหนังสือ การค้นคว้าวิจัย หรือการแปลเอกสาร  

           - การทำงานที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญ เช่น งานช่างฝีมือ  เครื่องยนต์  ก่อสร้าง  คอมพิวเตอร์  หรือวิชาชีพอย่างอื่น 

           - การทำงานบริการสังคมทั่วไป เช่น การทำความสะอาดหรือพัฒนาสถานที่สาธารณะ งานปลูกป่าหรือดูสวนป่าหรือสวนสาธารณะ

              - การบริจาคโลหิต การร่วมรณรงค์ในกิจกรรม/โครงการเพื่อสังคม

              - งานอื่นๆ  ที่ไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคม

การทำงานบริการสังคมตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

          1. การทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 2559 มาตรา 56 เป็นกรณีที่ศาลรอการกำหนดโทษ หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้แก่ผู้กระทำผิดไม่เกินห้าปี  โดยศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุม
ความประพฤติไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ซึ่งเงื่อนไขการคุมความประพฤติข้อหนึ่งได้แก่ การให้ไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานที่ศาลระบุไว้
เป็นครั้งคราว เพื่อเจ้าพนักงานจะได้สอบถาม แนะนำ
 ช่วยเหลือ หรือตักเตือนตามที่เห็นสมควรในเรื่องความประพฤติและการประกอบอาชีพหรือจัดให้ทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์  ซึ่งมีพระราชบัญญัติและระเบียบที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.1  พระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559  มาตรา 29  เป็นกรณีที่พนักงานคุมประพฤติจัดให้ผู้ถูกคุม
ความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามคำสั่งศาลหรือ เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ ต้องพิจารณา ข้อมูลคดี ข้อมูลส่วนบุคคลประกอบด้วย
 อีกทั้งงานที่จัดให้ทำจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาตลอดจนปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง

1.2  ระเบียบกรมคุมประพฤติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2560   เพื่อรองรับการดำเนินงานของพนักงานคุมประพฤติในการจัดให้ผู้ถูกคุมความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามพระราชบัญญัติ
คุมประพฤติ พ.ศ. 2559  มาตรา 29
 

        2. การทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 2559 มาตรา 30/1  เป็นมาตรการลงโทษทางเลือก ให้กับผู้ต้องโทษปรับที่ไม่ใช่นิติบุคคลและไม่มีเงินชำระค่าปรับ ซึ่งโดยปกติหากไม่มีเงินชำระค่าปรับจะต้องถูกนำตัวไปกักขังแทนค่าปรับ แต่มาตรานี้ให้สิทธิผู้ไม่มีเงินชำระค่าปรับสามารถยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้

                   ดังนั้นเป้าหมายของการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ จึงเป็นการที่ให้ผู้กระทำผิดที่ไม่มีเงินชำระค่าปรับทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ โดยคำนึงถึงระยะเวลาและประเภทงานตามคำสั่งศาลโดยเคร่งครัด แตกต่างกับการทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 25)  .. 2559 (มาตรา 56) ชึ่งเป็นเรื่องการทำงานบริการสังคมโดยเป็นเงื่อนไขในการคุมความประพฤติ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู และการชดเชยความผิดแก่ผู้เสียหายและสังคม 

        3. การทำงานบริการสังคมตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545  มาตรา 23 (4) 
 เป็นกรณีที่ใช้การทำงานบริการสังคมเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดทำแผนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ร่วมกับการดำเนินการอื่นที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดดำรงชีวิตห่างไกลจากยาเสพติด

หน่วยงานภาคีกับการทำงานบริการสังคม

                 “หน่วยงานภาคี หมายถึง หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน เอกชน หรือองค์กรอื่น ที่มีข้อตกลงร่วมกันกับสำนักงานคุมประพฤติให้เป็นหน่วยงานที่จัดให้    ผู้ถูกคุมความประพฤติทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้มีความสำคัญต่อกระบวนการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ที่จะช่วยให้ผู้กระทำผิดได้ทำงานชดใช้ตอบแทนสังคม เกิดจิตสำนึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นคนดีของสังคมได้ต่อไป หน่วยงานต่างๆ สามารถติดต่อขอข้อมูลการเข้าร่วมเป็นหน่วยงานภาคีได้จากสำนักงานคุมประพฤติในพื้นที่นั้น 

ผู้บริหาร

 นายพิพัฒน์ ว่องธีรกิจโกศล
ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดภูเก็ต

 

    มี 10 ผู้มาเยือน และ ออนไลน์

  ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 49
  ผู้เยี่ยมชมเมื่อวานนี้ 61
  ผู้เยี่ยมชมสัปดาห์นี้ 110
  ผู้เยี่ยมชมเดือนนี้ 1665
  ยอดผู้เยี่ยมชม 49482